แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูก และสมดุลกรดด่างของเลือดแต่อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถกินแคลเซียมอย่างเดียวโดยไม่กินแร่ธาตุอย่างอื่นเข้าไปร่วมด้วยเลย เนื่องจากแร่ธาตุทำงานเป็นทีม หรือที่เรียกกันเล่น ๆ ว่า game of cofactor
เราไม่สามารถสร้างแร่ธาตุขึ้นในร่างกายได้จำเป็นต้องกินจากอาหารเท่านั้นและหากขาดแร่ธาตุร่างกายจะย่ำแย่กว่าการขาดวิตามินเสียอีกนอกจากนี้ระหว่างการย่อยอาหารหากอาหารที่เรากินเข้าไปเกิดเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือปรุงแต่งมากร่างกายก็ยากที่จะดูดซึมแร่ธาตุเข้าไปใช้ประโยชน์เมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินแล้วแร่ธาตุถูกดูดซึมจากกระบวนการย่อยได้น้อยกว่ามาก
อย่างไรก็ตามแร่ธาตุและวิตามินมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายเช่นเดียวกันทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจรวมไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์ทั่วร่างกายเลือดระบบประสาทระบบกล้ามเนื้อกระดูกและฟันรวมทั้งเนื้อเยื่อทั่วร่างกายแร่ธาตุทำหน้าที่ทั้งการเป็นโครงสร้างและส่งเสริมระบบต่างๆที่กล่าวมาแล้ว
ที่สำคัญแร่ธาตุบางตัวยังเป็นส่วนหนึ่งของน้ำที่ร่างกายต้องนำไปใช้ในระบบออสโมซิสหรือการดูดซึมน้ำไปใช้ได้แก่แคลเซียมแมกนีเซียมโปแตสเซียมโซเดียมคลอไรด์ซึ่งเรารวบรวมมากล่าวไว้ในคอลัมน์เรื่องพิเศษฉบับนี้
นอกจากนี้แร่ธาตุบางตัวทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ในการทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกายและช่วยทำให้เกิดพลังงานหรือมีส่วนในการย่อยและเผาผลาญพลังงานแร่ธาตุบางตัวช่วยสร้างระบบประสาทกล้ามเนื้อเซลล์เลือดและเนื้อเยื่อ
นอกจากนี้แร่ธาตุแต่ละชนิดนั้นไม่ทำงานตามลำพังอย่างที่เราเข้าใจยกตัวอย่างเช่นแคลเซียมเราได้ยินว่ากระดูกของมนุษย์ประกอบด้วยแคลเซียมเป็นหลักแต่ก็ใช่ว่ากินแคลเซียมแล้วร่างกายเราจะนำไปใช้ได้เพราะแคลเซียมต้องการเพื่อนแร่ธาตุตัวอื่นๆที่ไปช่วยกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการโดยเฉพาะแคลเซียมไม่ได้ทำหน้าที่แค่สร้างความแข็งแรงให้กระดูกเท่านั้นทว่ายังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสมดุลกรดด่างของโลหิตไปสู่ความแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อและหัวใจนอกจากนี้ยังทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการออสโมซิสในการนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
ว่าแล้วเรามาดูว่าแร่ธาตุแต่ละตัวนั้นมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างไรและจะต้องกินร่วมกับเพื่อนแร่ธาตุตัวใดบ้าง
แคลเซียม
แร่ธาตุสำคัญที่สุด
ร่างกายคนเราประกอบด้วยแคลเซียม1.5 – 2.0% เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุดแคลเซียมส่วนใหญ่สะสมอยู่ในกระดูกร้อยละ98เหลือเพียงร้อยละ1กว่าๆที่มีอยู่ในฟัน
แคลเซียม10 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์อยู่ในรูปของไอออน 5.5 มิลลิกรัม(ช่วยร่างกายออสโมซิสน้ำมาใช้) ช่วยพาโปรตีนไปใช้4 มิลลิกรัมและอีก 0.5 มิลลิกรัมที่จะรวมตัวกับแร่ธาตุฟอสเฟสหรือซิเตรตในการรักษาสมดุลความเป็นกรดด่างของเลือด
หากแคลเซียมมีไม่เพียงพอต่อการใช้งานต่างๆดังกล่าวต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ออกมาเพื่อดึงแคลเซียมจากกระดูกไปใช้
อย่างไรก็ตามการจะนำแคลเซียมจากอาหารไปใช้นั้นร่างกายจะต้องการวิตามินดีในการดูดซึมการนำไปใช้และการควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดโดยการดูดซึมแคลเซียมนั้นเกิดขึ้นในลำไส้เล็กระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร
แคลเซียม VS ฟอสฟอรัสและแมกนีเซียม
เพื่อรักษาและสร้างโครงสร้างกระดูกพร้อมทั้งเซลล์กระดูกใหม่ๆนั้นแคลเซียมต้องทำงานร่วมกับฟอสฟอรัสซึ่งต้องการความสมดุลแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสที่อัตรา2.5 : 1 ร่วมกับแร่ธาตุอื่นๆที่มีบทบาทลดลั่นกันไปได้แก่แมกนีเซียมซิลิคอนโบรอน
เมื่อแคลเซียมอยู่ในกระแสเลือดที่จำเป็นต้องรวมตัวกับฟอสเฟตหรือซิเตรตแคลเซียมต้องการแมกนีเซียมมาช่วยสร้างความสมดุลการเป็นกรดด่างของเลือดซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของระบบโลหิตระบบประสาทระบบกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในการควบคุมการทำงานของหัวใจระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
เมื่ออยู่ในกระบวนการออสโมซิสหรือการแพร่กระจายของโมเลกุลน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์แคลเซียมจะอยู่ในรูปแบบของอิออนอยู่ด้านนอกเซลล์( intracellular fluid compartment) ช่วยทำหน้าที่ควบคุมโมเลกุลของน้ำกับแร่ธาตุตัวอื่นๆในกลุ่มอิเล็คโทรไลต์ได้แก่แมกนีเซียมโปแตสเซียมโซเดียมและคลอไรด์
นอกจากนี้แคลเซียมเป็นแร่ธาตุซึ่งแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดที่ร่างกายควรได้รับควรมาจากพืชได้แก่ผักสีเขียวเข้มเช่นบร็อคโคลี่ผักโขมรวมทั้งถั่วต่างๆและผลิตภัณฑ์จากนม
แหล่งแคลเซียม/ กลุ่มผักสีเขียว | ปริมาณ(มิลลิกรัม) |
ผักโขม | 230 |
คะน้า | 210 |
พาสลี่ย์ | 200 |
บร็อคโคลี่1 ช่อเล็ก | 160 |
สวีทชาร์ด | 125 |
แหล่งแคลเซียม/ กลุ่มถั่วและธัญพืชต่าง ๆ | ปริมาณ(มิลลิกรัม) |
ถั่วปิ่นโตต้มสุก 1 ถ้วย | 100 |
งา 1 ช้อนโต๊ะ | 70 |
ถั่วลิมา / ถั่วดำต้มสุก 1ถ้วย | 60 |
แป้งโฮลวีต 1 ถ้วยตวง | 50 |
ถั่วเลนทิล/ ถั่วรูปไตต้มสุก 1ถ้วย | 50 |
โอ้ต 1 ถ้วยตวง | 40 |
ข้าว | 25 |
ถั่วลิสงต้มสุก ¼ ถ้วย | 20 |
เมล็ดฟักทอง | 20 |
เมล็ดทานตะวัน | 10 |
แหล่งแคลเซียม/ กลุ่มปลาและพืชทะเล | ปริมาณ(มิลลิกรัม) |
ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก 3 ออนซ์ | 370 |
สาหร่ายวากาเมะ25 กรัม | 325 |
สาหร่ายอาราเมะ25 กรัม | 290 |
ปลาแซลมอน4 ออนซ์ | 285 |
สาหร่ายคอมบุ 25 กรัม | 200 |
หอย 3 ออนซ์ | 90 |
ปลาแซลมอนรมควัน 3 ออนซ์ | 10 |
แหล่งแคลเซียม/ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม | ปริมาณ(มิลลิกรัม) |
นมแพะ 1 ถ้วย | 315 |
นมวัว 1 ถ้วย | 290 |
โยเกิร์ต 1 ถ้วย | 270 |
คอจเทจชีส 1 ถ้วย | 230 |
เนย ทำจากนมวัว3 ช้อนโต๊ะ | 45 |
เมนูแคลเซียม+ แมกนีเซียม
ช่วยสมดุลกรดด่างเลือด
ยำหัวปลีกุ้งสด
ส่วนผสม
- หัวปลีกล้วยน้ำว้า 1 หัว
- กุ้งสดแกะเปลือกผ่าหลังลวกสุก 10 ตัว
- กุ้งแห้งทอด ½ ถ้วย
- ถั่วลิสงโขลกละเอียด 1 ถ้วย
- น้ำตาลปี๊บ 4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเต้าหู้ ½ ถ้วย
- น้ำมะขามเปียก 4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำพริกเผา 4 ช้อนโต๊ะ
- ใบผักชี
วิธีทำ
- ล้างหัวปลีให้สะอาดผ่าครึ่งแล้วปิ้งบนไฟจนเปลือกข้างนอกไหม้นิดหน่อยพักไว้ให้เย็นลอกเปลือกหัวปลีดึงดอกกล้วยเล็กๆออกแล้วซอยบางๆตามขวาง
- ผสมน้ำตาลปี๊บน้ำปลาน้ำเต้าหู้น้ำมะขามเปียกน้ำมะนาวและน้ำพริกเผาให้เข้ากันเพื่อทำเป็นน้ำยำ
- ใส่กุ้งลวกลงในน้ำยำตามด้วยหัวปลีกกุ้งแห้งถั่วลิสงเคล้าพอเข้ากันตักใส่จานแต่งด้วยใบผักชี
เมนูแคลเซียม+ ฟอสฟอรัส
ช่วยสร้างเซลล์กระดูก
ต้มหน่อไม้หวานใน่ชะอม
ส่วนผสม
- หมูสับ 1 ถ้วย
- หน่อไม้หวานหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ 2 ถ้วย
- ใบชะดมเด็ดใบกับยอด 1 ถ้วย
- เห็ดหอมสด 1 ถ้วย
- น้ำสต๊อกผัก 4 ถ้วย
- ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนผสมเครื่องแกง
- พริกชี้ฟ้าเขียวและแดง 5 เม็ด
- หอมเล็ก 3 หัว
- กระเทียม 4 กลีบเล็ก
- กะปิ ½ ช้อนชา
- เกลือป่น ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- โขลกหรือปั่นเครื่องแกงให้ละเอียด
- ตั้งน้ำสต๊อกผักใส่หมูสับต้มไฟอ่อนๆจนสุกใส่เครื่องแกงคนให้ทั่วใส่หน่อไม้ต้มต่อจนสุกใส่เห็ดหอมสด
- ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวพอเดือดใส่ใบชะอมรอเดือดอีกครั้งยกลงซดน้ำร้อนๆรับประทานกับข้าวสวย
เมนูแคลเซียม+ วิตามินดี
ช่วยการดูดซึมแคลเซียมไปใช้
ข้าวคลุกกระเพราหน้าแซลมอน
ส่วนผสม
- ข้าวกล้องหุงสุก 1 ถ้วย
- ปลาแซลมอนหั่นชิ้นบาง 100 กรัม
- ใบกะเพราสับละเอียด 4 ช้อนโต๊ะ
- กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกขี้หนูเขียวสับละเอียด 1 ช้อนชา
- น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
- น้ำมะนาว 1 – 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกไทยป่น ½ ช้อนชา
- เกลือป่น ¼ ช้อนชา
- น้ำมันมะกอก 2 ช้อนชา
- น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
- เคล้าปลาแซลมอนกับน้ำมะนาวเกลือป่นพริกไทยป่นใบกะเพรา2ช้อนโต๊ะและน้ำมันมะกอกหมักให้เข้ากันพักไว้10นาที
- ตั้งกระทะไฟอ่อนเจียวกระเทียมกับน้ำมันพืช1ช้อนโต๊ะพอให้หอมปิดไฟใส่ข้าวกล้องลงผัดให้เข้ากันปรุงรสด้วยพริกขี้หนูน้ำปลาซีอิ๊วขาวน้ำตาลทรายและใบกะเพราส่วนที่เหลือคลุกเคล้าให้เข้ากันตักใส่จาน
- นำเนื้อปลาที่หมักไว้ทอดกับน้ำมันส่วนที่เหลือให้สุกทั้งสองด้านเสร็จแล้วตักวางคู่กับข้าวคลุกกะเพรารับประทานขณะร้อนๆ
Tip
น้ำมะนาวที่ใส่ตอนหมักจะช่วยให้เนื้อปลาไม่มีกลิ่นคาว
ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสารชีวจิต