เช็คระบบย่อย คุณกินคาร์บ โปรตีน ไขมัน ได้แค่ไหน

เช็คระบบย่อย คุณกินคาร์บ โปรตีน ไขมัน ได้แค่ไหน

เราสงสัยเสมอว่า ทำไมบางคนกินเก่งแต่ไม่อ้วน แต่บางคนกินนิดหน่อยน้ำหนักก็ขึ้นแล้ว และเราก็เดากันมั่ว ว่า เป็นเพราะระบบย่อยคนนั้นดีกว่าคนนี้ เปล่าค่ะ คำตอบที่ถูกต้องตามหลักศาสตร์ฟังก์ชั่นนอลเมดิซีน (functional medicine) คือ ร่างกายแต่ละคนมีลักษณะระบบย่อยไม่เหมือนกัน อาหารที่ควรกินและควรงดก็ไม่เหมือนกัน เอื้อม NTP ชวนเช็คระบบย่อยว่า คุณสามารถกินคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ได้มากน้อยแค่ไหน

ศาสตร์ฟังก์ชั่นนอลเมดิซีน (functional medicine) ถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษให้หลังนี้เอง เป็นการต่อยอดจากงานวิจัยทางการแพทย์หลายต่อหลายชิ้น ที่ยืนยันว่า แต่ละบุคคลนั้นมีลักษณะระบบย่อยแตกต่างกัน ฉะนั้นการรักษาโรคหรือความผิดปกติแบบเดียวกัน จึงต้องใช้วิธีแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

วิลเลี่ยม แอล.วอลค็อต (William L. Wolcott) นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร และนักบำบัดโรคด้วยอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านเมตาบอลิกไทพิ้ง ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Metabolic Typing Diet (หรือ เมตาบอลิกไทพ์ไดเอท) ยกตัวอย่างคนไข้ของเขาคนหนึ่งชื่อ ซาร่า เฮนเนสซี ซึ่งดูแลสุขภาพตนเองตามคำแนะนำทั่วไป และสุดท้ายกลายเป็นว่า เธอป่วย สะท้อนให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพแบบผู้ไม่มีความรู้ ทำตามข้อมูลทั่วไป ที่พบอยู่ตามสื่อต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่หนทาง “ฉลาด” ที่จะป้องกันความเจ็บป่วยอันเกิดจากพฤติกรรมได้เลย

ซาร่ากินอาหารสุขภาพ ใครว่าอะไรดี เธอจะหามาบริโภคทุกอย่าง ดื่มแต่น้ำบริสุทธิ์ และกินอาหารเสริมตัวท็อปราคาแพง (ที่ว่าดีที่สุด) ในตลาด

ลงรายละเอียดในแต่ละส่วน เริ่มที่อาหารสุขภาพ เธอเลือกผักผลไม้สด ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์แบบลีน (ที่ไม่ติดไขมัน) อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครบอกเธอเรื่องการกินอาหารให้ครบหมู่ถูกต้องตามสัดส่วนที่ร่างกายต้องการ

หลายปีผ่านไป เธอจึงล้มป่วยและมาพบคุณวิลเลี่ยม ซึ่งเมื่อทำแบบสอบถาม ก็พบว่าร่างกายขาดสารอาหารมากมาย เนื่องจากการบริโภคสารอาหารบางอย่าง (ที่ได้ยินมาว่าดี) ติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่งผลให้ระบบเมตาบอลิก หรือระบบย่อยและการเผาผลาญเสียสมดุลอย่างมาก ส่งผลต่อไปยังต่อมและระบบอวัยวะต่าง ๆ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และลงเอยที่ระบบภูมิคุ้มกันหมดประสิทธิภาพ

อาการของซาร่าคือ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง แพ้อาหารและสารเคมีหลายชนิด ปวดตามข้อ ปวดหัว มีอาการกรดไหลย้อนเป็นคราว ๆ วิงเวียนบ่อย ๆ ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะเสมอ ๆ และมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย โดยเธอทนทุกข์ทรมานกับอาการ และการรักษาความผิดปกติเหล่านี้ด้วยวิธีต่าง ๆ มานับสิบปี

สัดส่วนอาหารที่ร่างกายต้องการ

  • น้ำ 60%
  • โปรตีน 18%
  • ไขมัน 15%
  • วิตามินและเกลือแร่ 5%
  • คาร์โบไฮเดรต 2%

อย่างไรก็ตาม เมตาบิลิกไทพ์ไดเอท เน้นการทำงานของ ระบบ Autonomic ระบบ Carbo – Oxidative ระบบ Lipo – Oxidative ระบบ Acid/ Alkaline ระบบ Electrolyte และระบบ Prostaglandnin ซึ่งจะเสียสมดุลก็ต่อเมื่อ 1.เลือกกินอาหารผิด เช่น อาหารแปรรูป อาหารที่มีส่วนผสมของสารเคมี 2.ปริมาณอาหารหลักผิดสัดส่วน (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) 3.ปริมาณอาหารรองผิดสัดส่วน (แร่ธาตุและวิตามิน)

การเสียสมดุลของระบบทั้ง 6 ทำให้เกิดภาวะขาดอาหาร ที่ร่างกายจำเป็นต้องมี เพื่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ขาดโปรตีน ขาดไขมัน ขาดคาร์โบไฮเดรต ขาดแร่ธาตุ วิตามิน หรือน้ำ

ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหัว อาหารไม่ย่อย มีภาวะน้ำตาลในเลือดขึ้น ๆ ลง ๆ ท้องผูก ปวดอวัยวะต่าง ๆ ป่วยบ่อย ไม่มีแรง

สุดท้ายก็ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ข้ออักเสบ เบาหวาน มะเร็ง โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้

เช็คระบบย่อย คุณสังกัดสายกินแบบไหน

ถึงตอนนี้ ทุกคนคงอยากรู้แล้วล่ะว่า เรามีลักษณะตามธรรมชาติของระบบย่อยแบบไหน ซึ่งมีวิธีทดสอบด้วยการตอบคำถามเหล่านี้ ทั้งนี้เราคัดเลือกเฉพาะคำถามที่ช่วยชี้ลักษณะตามธรรมชาติของระบบย่อยอย่างชัดเจน

  1. ความโกรธ หรือความหงุดหงิด 

    (ไม่ต้องตอบคำถามนี้ ถ้าไม่ค่อยมีอารมณ์นี้)

  • A   กินเนื้อหรืออาหารที่มีไขมัน แล้วรู้สึกแย่
  • B   กินอะไรก็ได้ รู้สึกดีทั้งนั้น
  • C   กินเนื้อหรืออาหารที่มีไขมัน แล้วรู้สึกดี
  1. ความกระวนกระวายใจ

    (ไม่ต้องตอบคำถามนี้ ถ้าไม่ค่อยมีอารมณ์นี้)

  • A    กินผลไม้ หรือผัก ช่วยบรรเทาได้
  • B    กินอาหารอะไรก็ได้ ช่วยบรรเทาได้ทั้งสิ้น
  • C    กินเนื้อ หรืออาหารที่มีไขมัน แล้วรู้สึกดี
  1. อาหารเช้า

  • A   ไม่ต้องกินอาหารเช้า หรือกินผลไม้ หรือโยเกิร์ต กับขนมปังสักแผ่น
  • B    กินไข่ ขนมปัง และผลไม้
  • C    กินอาหารหนัก เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ข้าวแกง
  1. สภาพอากาศ อุณหภูมิ และสิ่งแวดล้อม

  • A    ชอบที่ที่มีอากาศร้อน ไม่ชอบอากาศเย็น
  • B    อยู่ได้ทั้งที่อากาศร้อน และอากาศเย็น
  • C    ชอบที่ที่มีอากาศเย็น ไม่ชอบอากาศร้อน
  1. กาแฟ

  • A   ดื่มกาแฟได้ หากจำกัดปริมาณ
  • B   ดื่มหรือไม่ดื่มก็ได้
  • C   ดื่มกาแฟแล้วรู้สึกใจสั่น งุ่นง่าน หรือหิว
  1. การจดจ่อ และความสงบในใจ หลังกินอาหาร

  • A   รู้สึกว่ามีประสิทธิภาพขึ้น หากกินเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีไขมัน
  • B   ไม่มีอาหารอะไรเป็นพิเศษ ที่ทำให้จดจ่อไม่ได้
  • C   รู้สึกว่ามีประสิทธิภาพขึ้น หากกินผัก ผลไม้ หรือแป้ง
  1. มีอาการไอ

  • C   ไอแห้ง ๆ เสมอ
  1. ผิวแห้ง เล็บแตก ส้นเท้าแตก

  • C    มีปัญหาผิวแห้งเสมอ
  1. ความอยากอาหาร

  • A    อยากกินผัก ผลไม้ ขนมปัง ข้าว
  • C    อยากกินอาหารรสชาติเค็ม หรือของมัน เช่น ถั่ว ชีส เนื้อสัตว์
  1. รังแค

  • C    มักมีปัญหารังแค
  1. ภาวะซึมเศร้า

  • A    รู้สึกเงื่องหงอยเศร้าสร้อย หลังจากกินเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีไขมัน
  • B    รู้สึกเงื่องหงอยเศร้าสร้อย หลังจากกินผัก ผลไม้
  1. ของหวาน

  • A    ชอบกินของหวานมาก โดยเฉพาะหลังอาหาร ขาดของหวานไม่ได้เลย
  • B    ชอบกินของหวาน แต่ถ้าไม่กินก็ได้
  • C    ไม่สนใจของหวานเท่าไร แต่อยากกินของขบเคี้ยวอื่น ๆ จำพวกเนื้อสัตว์ อาหารที่มีไขมัน
  1. นิสัยการกิน

  • A     ไม่ค่อยใส่ใจกับการกิน บางทีก็ลืมกินอาหาร ถ้าจะกิน ก็เพราะต้องกิน
  • B     ใส่ใจการกิน แต่บ่อยครั้งก็ลืมกินเนื้อสัตว์ ถึงอย่างนั้นก็ไม่คิดว่าจะต้องกินให้ครบถ้วน
  • C     รักการกินอาหาร อาหารคือส่วนสำคัญในชีวิต
  1. ดวงตา

  • A     ดวงตาแห้ง
  • B     ไม่เคยสังเกต
  • C     ไม่มีปัญหาดวงตาแห้ง
  1. หากไม่ได้กินอาหารตามเวลา

  • A      ไม่ได้กินก็ไม่เป็นไร ดีด้วยซ้ำ
  • B      ไม่ได้กินก็ไม่เป็นไร
  • C      ถ้าไม่ได้กินอาหารตามเวลา จะรู้สึกหมดแรง และเครียด
  1. สีหน้า

  • A      หม่นหมอง หรือหน้าซีด
  • B      กลาง ๆ
  • C      สดใส มีออร่า
  1. เมื่อกินอาหารมัน

  • A      ไม่ชอบกินอาหารมัน
  • B      รู้สึกเฉย ๆ กินหรือไม่ก็ได้
  • C      ชอบกินอาหารมัน บางครั้งรู้สึกอยากกิน
  1. การเพิ่มน้ำหนัก

  • A      การกินเนื้อสัตว์และอาหารมัน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม
  • B      ไม่มีอาหารอะไรเป็นพิเศษ ที่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม นอกจากการกินเยอะเกินไป
  • C      การกินคาร์โบไฮเดรต พวกแป้ง ข้าว ธัญพืช ทำให้น้ำหนักเพิ่ม
  1. คลื่นไส้ อาเจียน

  • A      แทบจะไม่เคยมีอาการคลื่นไส้เลย
  • B      บางทีก็รู้สึกคลื่นไส้อยู่บ้าง
  • C      คลื่นไส้บ่อย ๆ
  1. ขนลุก

  • A      มักมีอาการขนลุกเป็นประจำ
  • B      ก็มีอาการขนลุกบ้างบางครั้ง
  • C      ไม่เคยมีอาการขนลุกเลย
  1. อาการนอนไม่หลับ

  • A      แทบจะไม่เคยมีอาการนอนไม่หลับเลย
  • B      มีอาการนอนไม่หลับบ้าง และต้องลุกขึ้นมากิน
  • C      หากกินมื้อเย็นไม่มากพอ มักตื่นกลางดึก และต้องกินอาหาร
  1. คันผิว

  • C      มักมีปัญหาคันผิวหนังบ่อย ๆ
  1. ปริมาณอาหาร

  • A      ไม่ค่อยกิน หรือกินน้อยกว่าที่ควร ไม่ค่อยชอบความรู้สึกอิ่ม
  • B      กินอาหารปริมาณปกติ ไม่มากหรือน้อยกว่าคนทั่วไป
  • C      กินอาหารเยอะ มากกว่าคนทั่วไป
  1. กินผลไม้ระหว่างมื้ออาหาร

  • A      ชอบมาก เพราะช่วยให้รู้สึกดี ไม่หิวอาหารจนถึงมื้อต่อไป
  • B      กินได้ แม้ว่าจะไม่ใช่อาหารว่างที่ดีที่สุด
  • C      กินไม่ค่อยได้ เพราะทำให้รู้สึกหมดแรง หรือหงุดหงิด
  1. บุคลิกภาพ

  • A       เป็นคนเงียบ สันโดษ
  • B       อยู่แบบสันโดษก็ได้ สังสรรค์กับเพื่อนฝูงก็ดี
  • C       เป็นคนชอบสังคม พบปะพูดคุยกับคนอื่น
  1. มันฝรั่ง

  • A       ไม่ชอบกินเลย
  • B       กินก็ได้ ไม่กินก็ได้
  • C       ชอบกินมาก กินได้ทุกวัน
  1. เนื้อแดง

  • A       กินแล้วรู้สึกหมดแรง หงุดหงิด เงื่องหงอย
  • B       ไม่ได้สังเกตว่ากินแล้วรู้สึกอย่างไร
  • C       ชอบกินมาก กินแล้วรู้สึกดี
  1. น้ำลาย

  • A       ปากแห้ง ไม่ค่อยมีน้ำลาย
  • B       ไม่ค่อยสังเกตตัวเองว่า มีน้ำลายมากหรือน้อย
  • C       มีน้ำลายมาก
  1. ความสงบ และอดทน

  • A       อาหารเบา ๆ เช่น ไก่ ปลา ผลไม้ ผัก และธัญพืชช่วยให้สงบ และอดทน
  • B       อาหารทุกประเภท ที่ช่วยให้สงบ และอดทน
  • C       อาหารหนัก ๆ เช่น ไขมัน เนื้อสัตว์ ที่ช่วยให้สงบ และอดทน
  1. อาหารเย็น

  • A       อกไก่ไร้หนังหรือปลา ข้าว ผัดผัก และผลไม้หวาน
  • B       กินได้ทุกอย่าง ไม่เลือก
  • C       ไก่ตุ๋นเครื่องยาจีน แครอท หัวหอม และมันฝรั่งราดน้ำเกรวี่ ปิดท้ายด้วยชีสเค้ก

วิธีคำนวณ สรุปคะแนน

นับว่าคุณตอบข้อไหนมากที่สุด A B หรือ C

  • ถ้าคำตอบ A มีจำนวนมากที่สุด คุณเป็น นักกินสายคาร์บ (Carbo type)
  • ถ้าคำตอบ B มีจำนวนมากที่สุด คุณเป็น นักกินสายผสม (Mix type)
  • ถ้าคำตอบ C มีจำนวนมากที่สุด คุณเป็น นักกินสายโปรตีน (Protein type)

__________________________________________________________________________

อ่านเพิ่มเติม 

เช็ค ลักษณะระบบย่อย กินอาหารแบบไหน รักษาสมดุลระบบย่อย

 


อ้างอิง

The Metabolic Typing Diet, William L. Wolcott and Trish Fahey, Harmony Books, New York, 2000

กลับไปยังบทความ