เช็ค ลักษณะระบบย่อย กินอาหารแบบไหน รักษาสมดุลระบบย่อย

เช็ค ลักษณะระบบย่อย กินอาหารแบบไหน รักษาสมดุลระบบย่อย

ระบบย่อยอาหารของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์พบว่า ความแตกต่างของระบบย่อย มีผลต่อพฤติกรรมการกิน อาหาร และความรู้สึกหลังการกินอาหารนั้น ๆ นำไปสู่การปรับการกินและอาหารของเราเอง

ก่อนอื่น เรามาเช็คระบบย่อยกันดีกว่าว่า มีกี่แบบและมีลักษณะอย่างไร อาหารที่ควรกิน และอาหารควรงดคืออะไรบ้าง

Protein Type

เนื่องจากคนกลุ่มนี้ ย่อยอาหารเร็วมาก โดยเฉพาะแป้ง ฉะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงอาการน้ำตาลในเลือดตก หรือไฮโปไกลซีเมีย ร่างกายจึงต้องการพลังงานที่แปลงจากไกลโคเจน หรือพลังงานที่ร่างกายสะสมไว้ ได้แก่ โปรตีน และไขมัน (ดี) ฉะนั้น คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ จึงชอบกินไขมัน (ดี) และโปรตีนมากกว่าแป้ง

นอกจากนี้ คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ ประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system หรือ ANS) จะมีแนวโน้มอยู่ในโหมด parasympathetic state ซึ่งเป็นโหมดแห่งการผ่อนคลาย หย่อนยาน และเชื่องช้า นำไปสู่ภาวะที่ชีพจรเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ

อาหารควรกินของระบบย่อยแบบ Protein Type

เน้นการกินโปรตีนดี ปลา ถั่ว อาหารทะเล และไขมันดี ได้แก่ พืชที่มีโอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 รวมทั้งปลานานาชนิด

เนื่องจาก ย่อยอาหารได้อย่างรวดเร็ว คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้จะต้องมีอาหารว่าง จำพวกอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ถั่วต่างๆ ไว้ข้างตัว

ส่วนอาหารประเภทแป้งและขนมปังนั้น คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ ควรกินในลักษณะที่เป็นแบบไม่ขัดขาว กินผลไม้ไม่หวาน กินผักที่มีคาร์โบไฮเดรตในปริมาณน้อย (ผักที่มีลักษณะเป็นผักราก เช่น แครอท นั้นจะให้คาร์โบไฮเดรต) เนื่องจากร่างกายรู้สึกไม่ดีนักกับอาหารประเภทนี้

คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ กินไขมันดีได้ไม่อั้น โดยไม่มีอาการท้องอืด ฉะนั้นจึงต้องระวังปริมาณไม่ให้ร่างกายได้รับมากเกินไป

อาหารต้องเลี่ยงของระบบย่อยแบบ Protein Type

  • แอลกอฮอล์
  • คาเฟอีน
  • น้ำตาล
  • อาหาร GI สูง
  • อาหารที่มีกรดไฟติก เช่น ข้าว ถั่วเหลือง จึงต้องนำไปแช่น้ำค้างคืน เทน้ำ ก่อนนำมาปรุงเสมอ เพื่อกำจัดกรดไฟติก (อ่านต่อหน้าถัดไป)

Carbo Type

เพราะระบบย่อยทำงานช้ากว่า ร่างกายจึงสามารถพึ่งพาการกินแป้ง และใช้แป้งเป็นพลังงานได้ ว่ากันว่า คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้มักเป็นชาวเอเชีย ที่ตับอ่อนมีขนาดใหญ่กว่าคนเผ่าพันธุ์อื่น อินซูลินจึงหลั่งมามากพอในการจัดการแป้งเป็นพลังงาน

คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ จะกินอาหารรสหวานจัดได้ ทนกับรสชาติหวานได้มากกว่า จึงต้องระวังว่าร่างกายจะได้รับคาร์โบไฮเดรตเกิน นำไปสู่โรคอ้วนและเบาหวานได้

ยิ่งไปกว่านั้น หากคนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ เป็นคนรูปร่างผอม มักเป็นคนที่มีบุคลิกมุ่งมั่นจริงจัง ทำกิจกรรมที่ตั้งใจให้สำเร็จลุล่วง จนลืมใส่ใจเรื่องอาหารการกิน นอกจากกินน้อย ลืมกินบางมื้อแล้ว คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้มักไม่สนใจประเภทของอาหารที่กินเข้าไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยคนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ ไม่รู้สึกผิดปกติกับการบริโภคแป้ง สามารถบริโภคแป้งได้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system หรือ ANS) อยู่ในโหมดเร่งรีบ หรือ sympathetic state ฉะนั้นไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมสำคัญในการควบคุมพลังงาน จึงส่อเค้าว่าจะมีปัญหามากกว่าคนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบอื่น

นอกจากนี้ เพราะร่างกายไม่เป็นมิตรกับโปรตีนและไขมันมากนัก จึงไม่สามารถย่อยอาหารมัน ๆ ได้ดี แต่เพราะในการทำงานของร่างกายมนุษย์ เราต้องการสัดส่วนของอาหารหลัก หรือ macro nutrient เป็น คาร์โบไฮเดรต 40% : ไขมัน 30% : โปรตีน 30% เราจึงต้องพยายามบริโภคไขมัน (ดี) และโปรตีนไม่ให้ขาด โดยอาจจะเลือกเป็นโปรตีนลีน (lean protein)

อาหารควรกินของระบบย่อยแบบ Carbo Type

คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ มักจะกินอาหารที่มีพิวรีน (พิวรีนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มีมากในเครื่องในสัตว์) ได้น้อย และเนื่องจากกินไขมันดี รวมทั้งเนื้อสัตว์ติดมันไม่ได้มาก (คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ จะมีอาการท้องอืด ไม่สบายตัว) จึงต้องเลือกกินเป็นโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ที่ปราศจากไขมัน และกินไขมันดีจากพืชแทน

นอกจากนี้ คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ มีแนวโน้มที่จะแพ้ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ครีม ดังนั้น หากต้องการกินผลิตภัณฑ์จากนม ต้องกินโยเกิร์ตที่ผ่านการหมักแล้วนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากินแป้งได้เยอะกว่าคนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบอื่น แต่ก็ต้องเป็นแป้งไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ส่วนผักผลไม้ ก็ต้องเป็นชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตปริมาณน้อย เช่น ไม่ใช่พืชราก พืชผล ไม่หวานจัด และหากต้องคั้น ควรเป็นลักษณะคั้นสด

อาหารต้องเลี่ยงของระบบย่อยแบบ Carbo Type

  • แอลกอฮอล์
  • น้ำตาล
  • กาแฟ
  • ผลิตภัณฑ์จากนม
  • อาหารไขมันสูง หรือโปรตีนสูง
  • อาหารที่จะไปกดการทำงานของไทรอยด์ ที่มี goitrogen เช่น บร็อคโคลี่สด กระหล่ำปลีสด วอเตอร์เคสสด (อ่านต่อหน้าถัดไป)

Mixed Type

เพราะร่างกายเผาผลาญด้วยความเร็วระดับกลาง ๆ คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้จึงสามารถย่อยอาหารทุกหมวดได้ดี ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน

อย่างไรก็ตาม คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้อาจมีอาการเหนื่อย กระวนกระวายใจ สืบเนื่องมากจากสัดส่วนของสารอาหารหลัก (macro nutrient) ไม่สมดุล โดยสาเหตุที่แท้จริงมาจาก การที่ร่างกายของคนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้สามารถย่อยทุกอย่างได้ดี ร่างกายจึงไม่อยากกินอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นพิเศษ ทำให้สัดส่วนของอาหารไม่สมดุลโดยไม่รู้ตัว

ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้และกินอาหารมังสวิรัติ มักมีโอกาสขาดโปรตีนและไขมัน (ดี) มากกว่า เนื่องจากอาหารมังสวิรัติมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตมากกว่าสารอาหารหลักชนิดอื่น ดังนั้นจึงต้องเตือนตนเองให้กินสารอาหารหลักให้ครบถ้วน

นอกจากนี้ คนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ หากกินแป้งมากเกินไป ก็จะเสี่ยงกับความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ควบคุมพลังงาน การได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ย่อมส่งผลต่อการทำงานของไทรอยด์

อาหารควรกินของระบบย่อยแบบ Mixed Type

ตามที่ทราบ การทำงานของร่างกายมนุษย์ เราต้องการสัดส่วนของอาหารหลัก หรือ macro nutrient เป็น คาร์โบไฮเดรต 40% : ไขมัน 30% : โปรตีน 30% ฉะนั้นคนที่มีลักษณะระบบย่อยแบบนี้ จำเป็นต้องระวังสัดส่วนการกินอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะต้องระวังการกินคาร์โบไฮเดรต ทั้งจากธัญพืช ผักและผลไม้ต่าง ๆ โดยเลือกชนิดที่ไม่ขัดขาว ค่า GI (Glycemix Index ต่ำ) ไม่ใช่รากหรือผลของพืชชนิดนั้น ๆ

อาหารต้องเลี่ยงของระบบย่อยแบบ Mixed Type

  • แอลกอฮอล์
  • อาหารที่เราอาจมีอาการแพ้
  • คาเฟอีน
  • น้ำตาล
  • อาหารที่มีกรดไฟติก เช่น ข้าว ถั่วเหลือง จึงต้องนำไปแช่น้ำค้างคืน เทน้ำ ก่อนนำมาปรุงเสมอ เพื่อกำจัดกรดไฟติก
  • อาหารที่จะไปกดการทำงานของไทรอยด์ ที่มี goitrogen เช่น บร็อคโคลี่สด กระหล่ำปลีสด วอเตอร์เคสสด
กลับไปยังบทความ