คู่มือเลือกถั่ว ให้ได้โอเมก้าสูงสุด

คู่มือเลือกถั่ว ให้ได้โอเมก้าสูงสุด

เพราะเมล็ดพืชบางชนิด และพืชตระกูลถั่ว นอกจากโปรตีนแล้ว ยังให้กรดไขมันโอเมก้า ว่าแต่เลือกถั่วอย่างไร จึงจะให้ได้โอเมก้าสูงสุด

กรดไขมันโอเมก้า ทั้งโอเมก้า – 3 และโอเมก้า – 6 ล้วนจำเป็นต่อการสร้างระบบการป้องกันการอักเสบให้เซลล์ ทั้งนี้สัดส่วนการกินโอเมก้า – 3 และโอเมก้า – 6 ควรเป็น 1:1 และไม่ควรเกิน 1:4 ทั้งนี้เพื่อให้ระบบการทำงานของ PG หรือ prostaglandin ที่ใช้กรดไขมันทั้งสองชนิดสร้าง PG1 และ PG3ในการป้องกันและเยียวยาการอักเสบในเซลล์

กรดไขมันโอเมก้า – 3 มีมากในปลาทะเลน้ำลึก (ที่จริงปลาน้ำจืดในเมืองไทยก็มีกรดไขมันโอเมก้า – 3) น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันปลา น้ำมันเมล็ดกัญชง วอลนัท ส่วนกรดไขมันโอเมก้า – 6 มีอยู่ในถั่วต่าง ๆ อีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันเมล็ดแบล็คเคอแรนต์ น้ำมันมะกอก อะโวคาโด งา

อย่างไรก็ตาม หากต้องการบริโภคเมล็ดพืชและถั่วเพื่อกรดไขมันโอเมก้าที่จำเป็นต่อร่างกาย เราควรเลือกที่สดใหม่ เนื่องจากจะยิ่งมีกรดไขมันจำเป็นมากยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามเมล็ดพืชและถั่วที่เก็บไว้นานจนเก่า จะมีกลิ่นเหม็นหืน หรือมีเชื้อรา ซึ่งเป็นการเพิ่มท็อกซินให้ร่างกาย ส่งผลร้ายต่อระบบย่อย ระบบเผาผลาญพลังงาน รวมทั้งก่อให้เกิดภาวะต่อมหวกไตล้า หรือโรคเรียดเรื้อรัง

ฉะนั้น เราควรเลือกให้ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้

เมล็ดพืช (ไม่ผ่านความร้อน)

  • เมล็ดงาดิบ – งาขาว หรือ งาดำควรเป็นสีธรรมชาติของงา ไม่ควรกินเมล็ดงาที่เป็นเงา มีรสขม และมีกลิ่นหืน
  • เมล็ดฟักทอง – ควรเป็นสีเขียวตามธรรมชาติ ไม่ควรกินเมล็ดที่เป็นเงามีกลิ่นหืน
  • เมล็ดทานตะวัน – ควรเป็นสีอมเทา ไม่ควรกินเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม เป็นเงาและมีกลิ่นหืน
  • เมล็ดแฟลกซ์ – ควรเลือกสีน้ำตาลแดง และไม่ควรกินเมล็ดที่มีกลิ่นเหม็นคาวปลาหรือกลิ่นหืน

ถั่ว (ไม่ผ่านความร้อน)

  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์ – ควรเลือกเมล็ดที่มีเนื้อสีเบจ ไม่มีเปลือก และไม่ควรกินเมล็ดที่มีสีน้ำตาลเข้ม เป็นเงามีกลิ่นหืน
  • อัลมอนด์ – หาเป็นแบบมีเปลือกเปลือกควรเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีเนื้อด้านในสีครีมอ่อน และไม่ควรกินเมล็ดที่มีจุดสีดำมีกลิ่นหืน
  • ถั่วบราซิล – ควรเลือกแบบที่มีเปลือกสีน้ำตาลเข้ม เนื้อสีครีมอ่อน หากพบว่าเนื้อข้างในเป็นสีน้ำตาลเข้มมีกลิ่นเหม็นหืนควรทิ้งเสีย
  • แมคคาเดเมีย – ควรเลือกเนื้อถั่วสีครีมออกขาวและไม่ควรกินถั่วที่เป็นเงา หรือมีจุดสีน้ำตาลมีกลิ่นเหม็นหืน
  • วอลนัท – ควรเลือกเปลือกสีน้ำตาลเรียบ เนื้อถั่วมีสีน้ำตาลแทน หากพบว่าเนื้อมันหรือวาวแสดงว่ามีกลิ่นเหม็นหืนแล้ว
  • ถั่วลิสง – ควรเลือกแบบที่มีเปลือกสีออกแดงๆ เนื้อถั่วสีครีมออกขาว และไม่ควรเลือกแบบที่เนื้อถั่วเหี่ยว มีสีเข้ม และแข็งหรือมีกลิ่นเหม็นหืน
  • เกาลัดหรือเชสนัท – ควรเลือกแบบที่มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลเข้ม เม็ดอวบ เนื้อถั่วมีสีครีม และไม่ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อหยาบ แข็ง หรือมีสีเข้มหรือมีกลิ่นเหม็นหืน

 

__________________________________________________________________________

อ้างอิง

หนังสือ Adrenal Fatigue, the 21st Century Stress Syndrome

Back to blog