อาหารต้องกิน VS งด ลดไขมันพอกตับ

อาหารต้องกิน VS งด ลดไขมันพอกตับ

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ค่ะ นอกจากการขับพิษ ตับยังมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกายอีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เราเกรงกลัวตับ เลยพานไม่กินตับสัตว์

ยกตัวอย่างคือ ตับ ทำหน้าที่ควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด โดยคัฟเฟอร์เซลล์ (kuffer cells) ทำหน้าที่กำจัดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ส่วนพีตเซลล์ (pit cells) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม สเตลเลทเซลล์ (stellate cells) ทำหน้าที่สะสมวิตามินดี และคอลลาเจน

ในช่วงเวลาที่เราไม่กินอาหาร (the fast state) ตับจะทำหน้าที่แปลงไขมันในตับ เป็นกลูโคสและคีโตน เพื่อให้ร่างกายใช้เป็นพลังงาน

ส่วนช่วงเวลาที่กำลังกินอาหารและย่อยอาหาร (the fed state) ตับจะนำกลูโคสและคีโตนไปสะสมไว้ ในรูปแบบของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ เพื่อแพ็คเป็นคลอเรสเตอรอล ส่งเข้ากระแสเลือด เพื่อไปใช้ในการสร้างฮอร์โมน และทำหน้าที่อื่น ๆ

หากเรากินอาหารไขมันสูง และคาร์โบไฮเดรตต่ำ ร่างกายต้องใช้พลังงานจากไขมัน โดยตับจะแปลงไขมันออกมาเป็นคีโตนออกมาในกระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงาน

หากกินอาหารคาร์โบไฮเดรตสูง อินซูลินจากตับอ่อนจะส่งสัญญาณไปหยุดตับ ไม่ให้ปล่อยคีโตน และไม่ให้แพ็คคลอเรสเตอรอล ทั้งนี้อินซูลินจะรับผิดชอบในการส่งกลูโคสเข้ากระแสเลือด และน้ำตาลในกระแสเลือดก็จะสูงขึ้น ส่วนตับก็จะแปลงกลูโคสส่วนที่เหลือจากการใช้เป็นพลังงาน มาสะสมไว้ในรูปแบบของไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์

ด้วยธรรมชาติของระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกายดังกล่าว เราจึงต้องกินอาหารให้หลากหลาย เพื่อรักษาสมดุลของระบบอวัยวะที่ทำงาน ระหว่างช่วงเวลาที่เราไม่กินอาหาร (the fast state) และช่วงเวลาที่เรากำลังกินอาหารและย่อยอาหาร (the fed state) ทั้งนี้ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะทำงานเป็นปกติ ไม่เจ็บไม่ป่วย

ไขมันพอกตับ ภาวะเสียสมดุลการเผาผลาญ

โรคไขมันพอกตับ หรือ fatty liver คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป อินซูลินทำงานหนัก ในการแปลงคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด และเป็นไตรกรีเซอไรด์สะสมอยู่ในตับ ตรงกันข้าม ตับไม่มีโอกาสแปลงไตรกลีเซอไรด์ที่สะสม เป็นกลูโคสและคีโตน เพื่อให้ร่างกายได้ใช้เป็นพลังงาน ทั้งนี้มีสองแบบคือ โรคไขมันพอกตับ แบบที่ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอลล์ และโรคไขมันพอกตับ แบบที่ผู้ป่วยไม่ดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งเมื่อต้องแก้ปัญหาด้วยอาหาร เราใช้อาหารไม่เหมือนกัน

ทว่าบทความนี้ เราจะเน้นโรคไขมันพอกตับ ในผู้ป่วยที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมาจากการเสียสมดุลอย่างรุนแรงของสารอาหารในร่างกาย ทั้งนี้จากการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า เมื่อให้สัตว์ทดลอง (ซึ่งในการทดลองครั้งหนึ่งใช้หนู และการทดลองอกครั้งหนึ่งใช้สุนัข) กินน้ำมันไม่อิ่มตัวสายยาว (polyunsaturated oil) (เน้นว่าคือ น้ำมัน นะคะ) ภายในสามสัปดาห์ ก็เกิดการอักเสบขึ้น (แต่กลายเป็นว่า เมื่อใช้น้ำมันจากวัว หรือคาเคา หรือน้ำมันไม่อิ่มตัวสายกลางอื่น ๆ กลับพบผลลัพธ์ตรงกันข้ามว่า ช่วยป้องกันการเกิดไขมันพอกในตับได้)

นอกจากนี้ การศึกษาโดยให้สัตว์ทดลองกินน้ำตาลฟรักโตส ก็พบผลลัพธ์เช่นเดียวกัน คือเกิดการพอกของไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับ

ฉะนั้น ในผู้ป่วยที่มีค่าไขมันในตับเกินะดับมาตรฐาน อาหารที่ต้องงดอย่างเร่งด่วนคือ

อาหารต้องงด

  • แป้งขาวและของหวาน รวมทั้งผลไม้หวานและเครื่องดื่มที่ผสม ฟรักโตสคอร์นไซรัป (fructose corn syrup) ซึ่งก็ได้แก่ ชาเย็น กาแฟเย็น น้ำผลไม้ปั่น (ในหลายร้าน หลายยี่ห้อ) น้ำอัดลม ทั้งนี้ผลไม้หวานและเครื่องดื่มที่ผสมฟรักโตสคอร์นไซรัปดังกล่าว จะไม่ผ่านการแปลงเป็นกลูโคสเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เหมือนคาร์โบไฮเดรต แต่จะตรงไปสะสมเป็นไตรกลีเซอไรด์ในตับ
  • น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันในกลุ่มไม่อิ่มตัวสายยาว

อาหารต้องกิน

สำหรับอาหารต้องกิน อยากให้ย้อนกลับไปยังช่วงเวลาที่เรากินและย่อยอาหารหรือ The fed state ซึ่งอินซูลินแปลงแป้งและน้ำตาลเป็นกลูโคส ส่งไปยังกระแสเลือด ทั้งนี้กระแสเลือดจะรับกลูโคสได้ในปริมาณที่จำกัด กลูโคสส่วนเกินจึงถูกนำไปสะสมที่ตับในรูปไตรกลีเซอไรด์ และไตรกลีเซอไรด์นี้เองที่จะถูกแพ็คเป็นคลอเรสเตอรอล ด้วยไลป์โปโปรตีน (lippoproteien) ส่งเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง

ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ร่างกายไม่กินอาหาร(the fast state) ไตรกลีเซอไรด์หรือไขมันในตับจะถูกแปลงกลับมาเป็นกลูโคสและคีโตน เพื่อให้ร่างกายใช้เป็นพลังงาน และในกระบวนการแปลงไขมันในตับเป็นพลังงานนี้เอง ร่างกายต้องการโคลีน (choline) และเมธิลโอนีน (methionine)…สารอาหารสำคัญในการทำให้กระบวนการนี้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ หากร่างกายขาดโคลีนและเมธิลโอนีน จะทำให้การแปลงไตรกลีเซอไรด์ออกมาเป็นพลังงานเสียไป ไตรกลีเซอไรด์ก็จะถูกสะสมอยู่ในตับต่อไป จนวันหนึ่งก็มีมากเกินไป กลายเป็นโรคไขมันพอกตับ ในคนไข้หลายรายจะมีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย ซึ่งจะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานต่อไป

ฉะนั้น สารอาหารที่เราต้องกินจากอาหารคือ

  1. โคลีน มีมากในตับวัว ตับสัตว์ต่าง ๆ ไข่แดง หอย ผลิตภัณฑ์นม ผักโขม หัวบีท พืชดอก บล็อกชอย โดยโคลีน หรือโคลีนที่มีเลซิตินผสม อย่างไข่แดง จะเข้าไปเยียวยาตับที่ถูกทำลายในขณะที่เกิดโรคได้
  2. เมธิลโอนีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่มาจากการบริโภคโปรตีนดีอย่างเพียงพอนั้น เป็นสารตั้งต้นของโคลีน
  3. วิตามินบี 6 มีมากในเนื้อสัตว์ ข้าวโอ้ต ปลา ไข่วิตามินบี 12 มีมากในเครื่องในสัตว์ ปลาซาดีน เนื้อวัว ปลาเทร้าท์ ปลาทูน่าโฟเลท มีมากในธัญพืช ถั่วฝัก เมล็ดพืช ถั่วเหลืองทั้งนี้ถ้าร่างกายได้รับสารอาหารเหล่านี้อย่างเพียงพอ ก็จะช่วยรักษาระดับคลอไรด์ และเมธิลโอนีน

นอกจากนี้ เราจำเป็นต้องกินอาหารเหล่านี้อย่างระมัดระวัง ได้แก่

  1. ระวังการกินน้ำมันไม่อิ่มตัวสายยาว (โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6) จำเป็นต้องให้ได้สัดส่วน 1:1 มิเช่นนั้น หากโอเมก้า 6 มากเกินกว่า 1:4 ก็ให้ผลตรงกันข้าม) ทั้งนี้หากสัดส่วนของโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เหมาะสมถูกต้อง จะช่วยร่างกายให้…
  • ซ่อมแซมตับที่เกิดความเสียหายในบางราย
  • ลดอาการอักเสบ (ในรายที่ได้รับอาหารที่มีคลอไรด์ และเมธิโอนีนเพียงพอ)
  1. ระวังการขาดแร่ธาตุ เนื่องจากคนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไขมันในตับนั้น มักมีประวัติกินแป้งขาวและของหวานมานาน ซึ่งในการแปลงคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคสนั้น ร่างกายต้องการแร่ธาตุเหล่านี้คือ
  • โครเมียม: บร็อกโคลี่ องุ่น ชีส ถั่ว
  • คาร์บอน: ผลไม้สด
  • ฟอสฟอรัส: ปลา ไข่ ถั่ว ธัญพืช
  • ซัลเฟอร์: แครนเบอร์รี่ ผักกระหล่ำ คะน้า
  • ทริปโตฟาน: องุ่นแห้ง มันฝรั่ง

และหากร่างกายได้รับแร่ธาตุข้างต้นไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ร่างกายยิ่งอ่อนแอ และการเสียสมดุลอาหารรุนแรงขึ้น

 

__________________________________________________________________________

อ้างอิง

Christopher Martin, Wise Traditions in Food, Farming and the Healing Arts, the quarterly journal of the Weston A. Price Foundation, Spring 2011.

Back to blog