10 สารเคมี อ่านฉลากโภชนาการแล้ว อย่าเลือก

10 สารเคมี อ่านฉลากโภชนาการแล้ว อย่าเลือก

สมัยนี้ การอ่านฉลากโภชนาการนั้น เป็นเหมือนหน้าที่สำคัญของผู้บริโภคทุกคนไปแล้ว ฉะนั้น ถ้าวันนี้เราไม่รู้ว่าสารเคมีที่ผสมลงไปในอาหาร และที่ปรากฏอยู่บนฉลากอาหาร ตัวไหนก่อมะเร็ง ตัวไหนก่อปัญหาสุขภาพสมอง ตัวไหนก่อเหตุทำร้ายสุขภาพทางเพศ เราก็จะเชยไปหน่อย

เพื่อทำให้ตัวเองทันสมัยอยู่เสมอ เหอ เหอ งั้นมาอ่านฉลากโภชนาการกัน โดยเฉพาะฉลากบนอาหารที่เราหยิบฉวยได้ง่าย จากร้านสะดวกซื้อ

เนื้อสัตว์แปรรูป

ไม่ว่าจะเป็นอาหารจำพวกแฮม ไส้กรอก เบคอน รวมถึงลูกชิ้น โดยปกติเราก็ไม่นำให้กินกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเผลอหยิบฉวยขึ้นมา ก็อยากให้อ่านฉลากโภชนาการกันนิดหนึ่ง ซึ่งต้องดูว่ามีสารเคมีเหล่านี้หรือไม่

  • ไนเตรท หรือไนไตร์ท (nitrates/nitrites) โดยปกติ ผู้ผลิตจะใส่สารไนเตรท หรือไนไตร์ทลงไปเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเมื่อโดนความร้อน จะกลายเป็นสารคาร์ซิโนเจน ก่อมะเร็ง (ยืนยันโดยองค์การอนามัยโลก) ทั้งนี้ สารเคมีสองตัวนี้จะทำให้เนื้อสัตว์มีสีแดง ฉะนั้นเราจึงสังเกตง่าย ตรงที่เนื้อสัตว์นั้น ๆ จะมีสีแดงผลิตปกติ แต่อย่างไรก็ตาม อ่านฉลากโภชนาการนั้นสำคัญที่สุดค่ะ
  • โพรพีล กัลเลท (propyl gallate) เมื่ออ่านฉลากโภชนาการแล้วพบสารตัวนี้ บอกตัวเองเลยว่า นอกจะเป็นสารคาร์ซิโนเจน ก่อมะเร็งแล้ว สารโพรพีล กัลเลทยังทำให้เกิดโรคผิวหนังในผู้บริโภคบางราย มิหนำซ้ำยังทำลายตับ และไตอีกด้วย

ขนมปัง และขนมอบต่าง ๆ

ขนมปังทุกชนิด ไม่ว่าจะผลิตจากแป้งขาว หรือแป้งโฮลวีต หากเป็นขนมปังที่ผลิตจากระบบอุตสาหกรรม ที่มีอายุบนเซล์ฟหลาย ๆ วัน โปรดหยิบมาพลิกถุงอ่านฉลากโภชนาการดู หากพบว่ามีสารเคมีสองตัวดังที่จะกล่าวต่อไป อาจต้องเปลี่ยนใจ วางไว้อย่างนั้น นั่นคือ

  • โปแตสเซียม โบรเมท (potassium bromate) เป็นสารเคมีที่ช่วยให้ขนมปังมีความยืดหยุ่น เหนียวอร่อย โดยหากเราอ่านฉลากโภชนาการ แล้วพบสารตัวนี้ ให้รู้เลยว่า เรากำลังจะกินสารก่อมะเร็ง ตามกฎหมายของประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป สั่งห้ามไม่ให้ใช้สารเคมีตัวนี้ในอาหาร แต่ในประเทศอื่น ๆ เมื่ออ่านฉลากโภชนาการแล้ว พบว่ายังมีการใช้อยู่
  • โพรพีลพาราเบน (propylparaben) ที่จริง ถ้าเป็นนักอ่านฉลากโภชนาการ จะพบว่าสารเคมีกลุ่มพาราเบนนี้จะปรากฎอยู่ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ เครื่องสำอาง ฉะนั้นเมื่ออ่านฉลากอาหาร แล้วพบพาราเบนก็จะตกใจ แต่ให้รู้ไว้ค่ะว่า มีผู้ผลิตใส่ลงมาในอาหารจริง ๆ เพราะมีคุณสมบัติต้านเชื้อราและแบคทีเรีย อย่างไรก็ดีพาราเบนอยู่ในกลุ่มสารที่เป็นคาร์ซิโนเจน ก่อโรคมะเร็ง

ซีเรียล

อาหารเช้าของคนทำงานในวันงานด่วน หรือเร่งไปพบลูกค้า ส่วนใหญ่คือ ซีเรียล ฉะนั้นหากเปิดครัวในคอนโดหลายแห่ง จะพบว่าทุกครัวจะตุนซีเรียลไว้ด้วย อย่างไรก็ดี การเลือกซีเรียลคุณภาพดี นอกจากคุณค่าอาหารแล้ว เราคงต้องอ่านฉลากโภชนาการ ดูส่วนผสม และต้องไม่ใช่ 2 ตัวนี้ ได้แก่

  • บิวติเลท ไฮดร็อกซิโทลูอีน (butylated hydroxytoluene หรือ BHT) เป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติละลายในไขมัน มีคุณสมบัติในการคงสีและรสชาติของอาหารไว้ได้ จึงจัดอยู่ในหมวดสารกันบูด ที่ผู้ผลิตใส่ลงในอาหารประเภทซีเรียล ทั้งนี้สาร BHT ก่อโรคมะเร็งในสัตว์ทดลอง ฉะนั้นเมื่ออ่านฉลากโภชนาการแล้วพบสารตัวนี้ อาจจะต้องเปลี่ยนใจ ไม่ซื้อมากิน
  • บิวติเลท ไฮดร็อกเซียโนซอล (butylated hydroxyanisole หรือ BHA) เป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือน BHT ทุกอย่าง มากกว่านั้นคือ กฎหมายของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ชี้ว่า นี่คือสารคาร์ซิโนเจน ก่อโรคมะเร็ง ตัวหนึ่ง

อาหารอื่น ๆ

  • โซเดียม อลูมิเนียม ฟอสเฟท (sodium aluminum phosphate) และ โซเดียม อลูมิเนียม ซัลเฟท (sodium aluminum sulfate) เป็นสารเคมีที่ไม่มีกลิ่น หากอ่านฉลากโภชนาการแล้วพบสารตัวนี้ ให้รู้ว่าผู้ผลิตใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากต้องการคุณสมบัติการเป็นสารตึงตัว ที่ปกติใส่ลงไปในเครื่องสำอาง สี กระดาษ และยา รวมทั้งอาหารหลาย ๆ ประเภท สารเคมีสองตัวนี้ เป็นพิษต่อการทำงานของสมอง
  • แคลเซียม โพรพิโอเนท (calcium propionate) เป็นสารกันบูดที่หยุดเชื้อราในอาหารโดย Center for Science in the Public Interest กล่าวว่า ผู้ผลิตจะผสมสารเคมีตัวนี้ ลงไปในแป้งทำอาหารต่าง ๆ มีผลต่อแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ และเป็นพิษต่อการทำงานของสมอง หากอ่านฉลากโภชนาการแล้วพบสารตัวนี้ อาจต้องหยุดคิดสักนิดหนึ่งค่ะ
  • ทรีโอโบมายน์ (theobromine) ผสมในช็อกโกแลต ขนมปัง และสปอร์ตดริ๊งค์ จากการทดลองกับสัตว์ทดลอง พบว่าสารเคมีตัวนี้ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ และการพัฒนาการ อ่านฉลากโภชนาการให้ดีค่ะ
  • สีผสมอาหารเทียม ส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติของทุกระบบ ตั้งแต่ไฮเปอร์แอคทีฟในเด็ก จนถึงโรคมะเร็งทุกชนิดในผู้ใหญ่ อย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการ นะคะ
Back to blog